การปิดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดจะติดตามรูปทรงของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ นอกจากนี้ยังขึ้้นอยู่กับกาวที่ใช้และวัสดุของตัวฉลาก เครื่องปิดฉลาก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน
เครื่องปิดฉลากแบบทากาวแล้วกลิ้งติด ในกรณีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นทรงกลม เช่น กระป๋อง โดยจะใช้ทรงกลมให้เกิดประโยชน์ โดยให้กระป๋อง กลิ้งไปตามรางแล้วทางกาวลงบนตัวบรรจุภัณฑ์ เมื่อกลิ้งต่อไปกาวจะติดเอาฉลากขึ้นมาด้วย และกลิ้งไปจนครบรอบของฉลาก ที่ติดมานั้นจะมีทากาวบนปลายฉลากอีกข้างหนึ่ง เพื่อให้ปลายฉลากสามารถติดแน่นสนิทยิ่งขึ้น
เครื่องปิดฉลากแบบทากาวที่ฉลากแล้วส่งผ่านไปติด เครื่องปิดฉลากบนส่วนหน้าหรือหลัง ของบรรจุภัณฑ์ จำพวกงานขวดแก้วหรือพลาสติก มีหลักการทำงาน คือ ฉลากจะถูกทากาวด้วยลูกกลิ้งมาก่อน แล้วจึงนำฉลากมาติดบนภาชนะในตำแหน่งที่ต้องการ
เครื่องปิดฉลากสติ๊กเกอร์ ประเภทนี้จะใช้ฉลากแบบสติ๊กเกอร์หรือมีกาวในตัว ฉลากชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบอื่น แต่มีความสะดวกในการใช้งาน ไม่ว่าจะติดด้วยเครื่องหรือไม่ใช้เครื่องจักร ฉลากจะพิมพ์มาเป็นม้วนเว้นระยะเท่าๆ กัน ความหนาแน่นและความเหนียวขอตัวฉลากกับตัวแผ่นกระดาษที่ปะอยู่ที่ข้างหลัง เมื่อแผ่นกระดาษหมุนกลับ 180 องศา จะปล่อยฉลากออกมา แล้วติดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยลูกกลิ้งติดกาว เครื่องจักรติดฉลากประเภทนี้มีราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ความเร็ว ความแม่นยำ และลักษณะการทำงาน แต่จะทำงานได้อย่างสะอาด และแม่นยำ
จากประเภทของเครื่องปิดฉลากทั้ง 3 ประเภท จะพบว่าข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องจักรจะแตกต่างกันตามบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ และความเหมาะสมการใช้งานและบริเวณของการติดฉลาก ต้นทุนการทำงาน ราคาเครื่องจักร ลองพิจารณาตามความเหมาะสม
ผู้เขียนบทความ
ธนาภรณ์ ไลธิตินาถกุล
Comentarios