การประเมินเทคโนโลยีการพิมพ์คุณภาพสูงเพื่อบ่งชี้เลขรหัสและดาต้าเมทริกซ์ (Evaluating coder technologies to print high-quality alphanumeric and DataMatrix codes)
รหัสดาต้าเมทริกซ์ (DataMatrix) กลายเป็นมาตรฐานผู้ให้บริการรหัสสำหรับหมายเลขของภูมิภาคและจนถึงระดับประเทศนั้นๆ โดยเครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์มาร์คและเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ ที่สามารถพิมพ์ด้วยความละเอียดสูงได้ทั้งพิมพ์ ดาต้าเมทริกซ์ สัญลักษณ์ และข้อความ
ผลิตภัณฑ์ยา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และบรรจุภัณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพ การดำเนินงานเพื่อความต้องการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับกันไปทั่วโลก
มารตรฐานบรรจุภัณฑ์กำลังเพิ่มความซับซ้อนในฐานะผู้ผลิตให้บริการ และฐานลูกค้าทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นและข้อกำหนดการทำให้เป็น serialization ที่ถูกปรับใช้ในหลายประเทศ
ความต้องการบรรจุภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพของชีวิต ได้ผลักดันนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการพิมพ์เลขรหัสหรือพิมพ์ดาต้าเมทริกซ์บนบรรจุภัณฑ์ นับตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาและจะยังคงทำเช่นนั้นต่อไป กว่าทศวรรษที่ผ่านมาขบวนการผลิตที่ต้องมีการพิมพ์ serialization ด้วยความละเอียดสูงและระบบพิมพ์สะอาด เป็นปัจจัยหลักที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของการพิมพ์ที่มีอยู่ และจนถึงเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามา เป็นผลให้วิศวกรบรรจุภัณฑ์และผู้จัดการผลิตภัณฑ์ มีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น ที่จะใช้เทคโนโลยีอะไรในการนำมาใช้ในขบวนการผลิตของพวกเขา
การเลือกเทคโนโลยีการพิมพ์ไม่ถูกต้อง อาจเป็นแหล่งที่มาของความยุ่งยากที่สามารถขัดขวางความเร็วและประสิทธิภาพการผลิตบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นการเลือกเครื่องพิมพ์อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นองค์ประกอบสำคัญ สำหรับการดำเนินงานด้านบรรจุภัณฑ์ด้วยความต้องการที่หลากหลายและเพิ่มเติมขึ้น ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์จึงถูกเรียกร้องเปรียบเทียบเทคโนโลยีการพิมพ์ ระหว่างเลเซอร์มาร์คกิ้ง และเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์ เพื่อใช้สำหรับพิมพ์ serialized บนบรรจุภัณฑ์ สำหรับดาต้าเมทริกซ์ (DataMatrix) ได้กลายเป็นผู้ให้บริการรหัสมารฐานสำหรับภูมิภาพและแต่ละประเทศนั้นๆ
เครื่องพิมพ์คุณภาพสูง เพื่อระบุเลขรหัสและดาต้าเมทริกซ์ (High-quality alphanumeric and DataMatrix codes)
ภาพรวมเทคโนโลยี
ทั้งระบบพิมพ์เลเซอร์มาร์กกิ้งและเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์ ทั้งสองเทคโนโลยีเป็นระบบพิมพ์ความละเอียดสูงส สำหรับพิมพ์ดาต้าเมทริกซ์และข้อความ โดยเทคโนโลยีของเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์นี้ จะเป็นหยดหมึกเล็กๆ ที่ถูกความร้อนพ่นออกมาจากหัวพิมพ์โดยหมึกจะถูกเก็บในตลับหมึกพิมพ์ หยดหมึกที่ถูกพ่นออกมานี้จะออกหัวพ่น (Nozles) ที่ถูกจัดเรียงเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ โดยภายใต้ของหัวพ่นนี้จะมีรีซิสเตอร์เล็กๆ ที่จะทำหน้าที่เขย่าน้ำหมึกโดยมีรอบการเขย่าที่สูงมาก โดยรีซิสเตอร์เล็กๆ นี้จะทำให้หมึกเกิดการร้อนและเกิดการเดือดในอนุภาคหรือเกิดฟองเล็กๆ หลังจากนั้นจะถูกพ่นออกมาจากรูของหัวพ่น (ตามรูปที่ 1)
รูปที่ 1
ในทางตรงกันข้าม เลเซอร์มาร์คกิ้งใช้ลำแสงโฟกันของแสงวิ่งกระทบกระจกทั้งแกน X และ Y แล้ว ทะลุผ่านเลนส์ขยายและไปยังชิ้นงานหรือผิวผิวของวัตถุ เพื่อระบุหรือกำหนดเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมแต่ละแอพพลิเคชั่นหรือการใช้งาน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพื่อพิจารณา
พื้นผิว
ความเร็ว
การเคลื่อนที่ของพื้นผิว
การพิจารณาการติดตั้ง
ค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่ายการลงทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน)
รูปที่ 2
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับพื้นผิวชิ้นงาน
วัสดุที่ถูกนำมาใช้มาร์คหรือทำเครื่องหมายบนพื้นผิว มักถูกนำมาพิจารณาในปัจจัยแรกของเทคโนโลยีการพิมพ์เพิ่มเติมลงบนบรรจุภัณพ์ โดยทั้ง 2 เทคโนโลยีการพิมพ์ดังกล่าวนี้ โดยวิศวกรบรรจุภัณฑ์จะเป็นผู้เลือกระบบพิมพ์ใดที่เหมาะสมกับงาน
กล่องและฉลากยา (Pharmaceutical cartons and paper label) มักจะมีการเคลือบสารเพื่อป้องกันน้ำและความชื้น โดยในอดีตที่ผ่านมาเครื่องพิมพ์ระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์ ไม่สามารถพิมพ์บนพื้นผิวดังกล่าวได้ หรือเรียกว่าไม่สามารถพิมพ์บนพื้นผิวไม่ดูดซึมได้ ซึ่งทำให้ซัพพลายเออร์ต้องมีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพิมพ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยนวัตกรรมของเครื่องพิมพ์ระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีซัพพลายเออร์หมึกจากทั่วโลกมากมายที่กำลังพัฒนาหมึกพิมพ์ของตัวเอง เพื่อให้สามารถพิมพ์บนพื้นผิวบรรจุภัณพ์หรือฉลากได้หลากหลายมากขึ้น (แทนหมึกชนิดเดิม หรือหมึกเบสน้ำ) โดยหมึกที่สามารถพิมพ์บนพื้นผิวได้หลากหลายในปัจจุบันคือ หมึกโซเว้นท์เบส (Solvent base) จึงทำให้ระบบพิมพ์เทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางขึ้นในปัจจุบัน
เครื่องเลเซอร์มาร์คกิ้งสามารถพิมพ์หรือมาร์คได้บนพื้นผิว อาทิ กระดาษ พลาสติก โลหะ และแก้ว ยิ่งไปกว่านั้นคุณลักษณะเด่นของเลเซอร์คือ สามารถมาร์คบนพื้นผิวที่โค้งเว้าได้ อาทิ ขวดพลาสติก โดยในอุตสากหรรมยามักจะถูกนำไปใช้สำหรับมาร์คบนกล่องกระดาษ (กล่องและฉลาก) ซึ่งเทคโนโลยีของเลเซอร์ทั้งชนิด ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์และไฟเบอร์เลเซอร์ (CO2 and Fiber Laser) ทั้งสองเลเซอร์นี้มักจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากพิมพ์ได้คมชัด โดยเฉพาะคุณภาพการมาร์คบาร์โค๊ต โดยความคมชัดของการมาร์คนั้น ขึ้นอยู่กับสีของบรรจุภัณฑ์หรือพื้นผิวที่จะมาร์ค หากเป็นสีดำหรือสีที่มีความเข้มหรือสีทึบจะทำให้การมาร์คชัดเจนมากขึ้น การมาร์คด้วยเลเซอร์นี้คือ การทำลายเลเยอร์แรกของชิ้นงานที่เราจะมาร์ค เมื่อทำลายเลเยอร์แรกของเนื้อวัสดุออกแล้ว เลเซอร์ที่สองของชิ้นงานที่มาร์คจะเด่นเห็นได้ชัดเจน (หากสีชั้นที่สองของชิ้นงาน ตัดกับสีเลเยอร์แรก)
ความเร็วของไลน์บรรจุภัณฑ์ (Packaging line speed)
เกณฑ์การตัดสินใจที่สำคัญเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด (Key decision criteria for maximum efficiency)
ข้อกำหนดด้านความเร็ว
วิศวกรบรรจุภัณฑ์ ต้องบริหารการจัดการเพื่อให้เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์และพนักงานควบคุมเครื่องมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยความเร็วหรือประสิทธิภาพเป็นเกณฑ์การตัดสินใจที่สำคัญสำหรับผู้ผลิต สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์พริ้นเตอร์นั้น ความเร็วในการพิมพ์คำนวณได้ไม่ยาก โดยการเลือกที่ความละเอียดของการพิมพ์ เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถทราบได้ว่าความเร็วสูงสุดในการพิมพ์ ว่าเท่ากับกี่เมตรต่อนาที หรือกี่ชิ้นต่อนาที ความซับซ้อนหรือความหลากหลายในการพิมพ์ (ข้อความจำนวน 2 บรรทัดและ 4 บรรทัด) ไม่มีผลต่อความเร็วระบบพิมพ์เทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ นี่คือลักษระเด่นของระบบพิมพ์นี้ หรือเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนขึ้นหากพิมพ์ข้อความจำนวน 4 บรรทัด หรือพิมพ์ดาต้าเมทริกซ์ เทียบกับการพิมพ์จำนวนข้อความ 2 บรรทัดและพิมพ์วันหมดอายุอีก 1 บรรทัดรวมเป็นสามบรรทัด ความเร็วในการพิมพ์ก็คงเท่ากัน
การคำนวณความเร็วในการมาร์คหรือการพิมพ์ด้วยระบบเลเซอร์มาร์คกิ้ง (Laser Marking) นั้น จะมีความซับซ้อนมากกว่าระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์ โดยปัจจัยในการคำนวณดังนี้
1. พื้นผิวชิ้นงาน (Substrate) – ต้องใช้กำลังวัตต์เลเซอร์เท่าไหร่ เพราะว่าพื้นผิวชิ้นงานจะมีความแตกต่างกันเรื่องความยากง่ายในการมาร์ค
2. ขนาดของเลนส์และพื้นที่มาร์ค (Lens size and marking field size) – ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการมาร์ค
3. ขนาดของข้อความและความซับซ้อน (Code size and complexity)
4. ระยะห่างระหว่างชิ้นงาน (product pitch)
โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับอุตสาหกรรมยา เครื่องเลเซอร์ 30 วัตต์ ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser) และไฟเบอร์เลเซอร์ 20 - 50 วัตต์ (Fiber Laser) จะถูกเลือกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ความท้าทายของการพิมพ์บนพื้นผิว พลาสติก ฟอยล์ และโลหะ สำหรับเลเซอร์มาร์กแล้ว อาจต้องใช้เวลาในการมาร์คนานกว่าพื้นผิวกระดาษหรือกล่องกระดาษ ซึ่งการพิมพ์เลขรหัสบนพื้นผิวงานเหล่านี้ จะต้องพิจารณาเรื่องความเร็วในการมาร์คซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก
สายพานลำเลียงชิ้นงานมีส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในการนำพาชิ้นงานให้ผ่านตำแหน่งในการพิมพ์หรือหัวพิมพ์ โดยสายพานจะต้องไม่สั่นหรือสายพานวิ่งไม่สะดุด หรือกระตุก ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพการพิมพ์มีประสิทธิภาพ แต่สำหรับเลเซอร์มาร์กแล้ว การติดตั้งเครื่องหรือการวางเครื่องจะต้องมั่นคงไม่ขยับเขยื้อนหรือสั่นสะเทือน โดยหากเราทำการมาร์คบนเพื้นผิวงานราบเรียบ หัวของเลเซอร์หรือว่าเลนส์จะต้องขนานกับชิ้นงานพิมพ์นั้นด้วย
เทคโนโลยีการพิมพ์เลเซอร์มาร์ก สามารถพิมพ์ได้ทั้งระบบหยุดแล้วพิมพ์และพิมพ์ต่อเนื่อง (Intermittent and Continuous) สามารถกำหนดได้จากซอฟแวร์ของเครื่อง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเครื่องเลเซอร์มาร์ก แต่สำหรับเทคโนโลยีพิมพ์เทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์แล้ว สามารถพิมพ์ได้เพียงระบบเดียวคือพิมพ์แบบต่อเนื่อง (Continuous) เท่านั้น แต่สำหรับคำว่าการพิมพ์แบบต่อเนื่อง จำแนกได้สองลักษณะ คือ ชิ้นงานเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง และอีกประการคือทำให้หัวพิมพ์เคลื่อนท็ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ระยะห่างชิ้นงานและหัวพิมพ์ (Throw Distance)
ระยะห่างชิ้นงานและหัวพิมพ์ของระบบเลเซอร์มาร์กและเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์นี้ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมากเลยทีเดียว โดยตามหลักทฤษฏีแล้วระบบพิมพ์เทอร์มอลฯ หัวพิมพ์และชิ้นงานจะห่างได้ประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร แต่สำหรับเลเซอร์มาร์คแล้ว จะได้เปรียบเป็นอย่างมากสำหรับระยะชิ้นงานกับหัวพิมพ์ (ตำแหน่งเลนส์ - ชิ้นงาน) หากจะยกตัวอย่าง หากเราจะทำการมาร์คบนกล่องกระดาษด้วยเลเซอร์มาร์คชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กำลัง 30 วัตต์ ระยะหัวพิมพ์กับชิ้นงานคือ 100 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถคาดเคลื่อนได้ 1 - 3 มิลลิเมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของเลนส์)
ข้อควรพิจารณาในการติดตั้ง (Installation considerations)
ปัจจัยที่ทำให้การติดตั้งเครื่องสมบูรณ์และประสบความสำเร็จ
ข้อควรพิจารณาในการติดตั้ง - สำหรับระบบพิมพ์เทอร์อิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์
แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างของหัวพิมพ์กับชิ้นงานที่ค่อนข้างน้อย แต่สำหรับระบบพิมพ์นี้หัวพิมพ์จะมีขนาดเล็กและเป็นระบบพิมพ์สะอาด ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ สำหรับหมึกพิมพ์จะต้องใช้เวลาในการแห้งประมาณ 2 วินาที ทั้งหมึกโซเว้นท์ (Solvent Based) และวอเตอร์หรือดายเบส (Water/Dye Based)
ข้อควรพิจารณาในการติดตั้ง - สำหรับระบบพิมพ์เลเซอร์มาร์ก
การติดตั้งเลเซอร์มาร์กค่อนข้างยากกว่าระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตท์ โดยจะต้องนำความเหมาะสมในการติดตั้งและความปลอดภัยมาพิจารณาด้วย ทั้งตัวเครื่องเลเซอร์เองและเครื่องดูดควัน พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจะใช้พื้นที่มากกว่าระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ และตำแหน่งของแสงยิง (Laser Beam) จะต้องมีชุดป้องกันแสง เพื่อไม่ให้แสงสัมพัสโดยตรงกับพนักงานควบคุมเครื่อง หรือต้องมีการ์ดป้องกันในพื้นที่ของการติดตั้งเครื่อง พร้อมมีป้ายสัญญลักษณ์เตือนติดไว้ด้วย สำหรับเลเซอร์มาร์คชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซ์ (CO2 Laser) นั้น วัสดุที่สามารถป้องกันแสงเลเซอร์ได้ดีที่สุดคือ พลาสติค อคริลิคและโพลี่คาร์บอเนต แต่สำหรับไฟเบอร์เลเซอร์ (Fiber Laser) และนีโอดีเมียม-แย็ก (Nd: YAG Laser) แล้ว ต้องใช้แผ่นโลหะในการป้องกันแสงเลเซอร์ (อ้างอิงจากมาตรฐาน ANSI standard Z136.1.)
การพิมพ์ด้วยเลเซอร์มาร์คกิ้งนี้ จะเกิดควันและอนุภาคเล็กๆ ที่เกิดจากพื้นผิวของชิ้นงานเมื่อโดยลำแสงของเลเซอร์ ซึ่งมีอัตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจำต้องมีอุปกรณ์ในการกำจัดสิ่งเหล่านี้ เราเรียกอุปกรณ์นี้ว่า เครื่องดูดควัน (Fume Extractor) โดยเครื่องดูดควันนี้สามารถกำจัดได้ทั้งฝุ่นหรืออนุภาคเล็กๆ และกลิ่น โดยฟิวเตอรร์ของเครื่องดูดควันนี้จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยฟิวเตอร์นี้จะเป็นเกรด HEPA (HEPA คือ High Efficiency Particulate Air ที่หมายถึงประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นที่สูงกว่าแบบปกติ - และเมื่อมันมาอยู่ในแผ่นกรองอากาศ (Filter) ก็จะเท่ากับความสามารถในการดักจับฝุ่นที่มากขึ้น และละเอียดขึ้น โดย HEPA Filter สามารถดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคเล็ก 0.3 ไมครอน (เล็กกว่าฝุ่น PM 2.5 ซะอีก) ได้อย่างน้อย 99.97 % ด้วยวัสดุทำจากเทคโนโลยีเส้นใยขั้นสูง ทำให้มั่นใจได้ว่าฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากๆ รวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น ควัน หรือแม้แต่แบคทีเรียและเชื้อราที่ลอยอยู่ในอากาศ ก็จะถูกดักจับไว้นั่นเอง)
การลงทุนเครื่องพิมพ์และต้นทุนการดำเนินงาน (Capital and operating costs)
เป็นการเปรียบเทียบเชิงเศรษฐศาสตร์ของเครื่องพิมพ์ทั้งสองระบบ เพื่อนำไปพิจารณาการตัดสินใจในการเลือกเทคโนโลยีพิมพ์ใดเหมาะสมกับไลน์การผลิตของตน การลงทุนเครื่องครั้งแรกแน่นอนว่า เครื่องระบบเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ราคาต่ำกว่าเลเซอร์มาก ทำให้การตัดสินง่ายขึ้นในการลงทุนและหากมีการเพิ่มไลน์การผลิตก็สามารถลงทุนซื้อเครื่องเพิ่มเติมได้แบบไม่มีปัญหา โดยเฉพาะปัจจุบันเครื่องหนึ่งคอนโทรเลอร์สามารถควบคุมหัวพิมพ์ได้ 1 - 4 หัวพิมพ์ ทำให้ประหยัดการลงทุนได้เยอะ โดยเฉพาะหากเราจะเปลี่ยนตำแหน่งพิมพ์หรือปรับตำแหน่งหัวพิมพ์ก็สามารถทำอย่างง่ายดาย สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาร์ค ไม่ต้องใช้หมึกพิมพ์แต่อย่างใด แต่มีช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนฟิลเตอร์ของเครื่องดูดควันเป็นระยะ (ขึ้นอยู่กับจำนวนการมาร์คและอัตราของฝุ่นหรือควัน) ดังนั้นเราสามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ระบบได้อย่างไม่ยากนัก
บทสรุป
มีหลายปัจจัยที่ควรประเมินเมื่อเลือกระหว่างเครื่องเลเซอร์มาร์ค และเครื่องเทอร์มอลอิ้งเจ็ตพริ้นเตอร์ โดยไม่เกณฑ์ใดบอกได้ว่าระบบพิมพ์แบบไหนดีสุด ซึ่งแต่ละระบบพิมพ์จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่ลักษณะและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ซึ่งหากวิศวกรด้านบรรจุภัณฑ์ที่ความชำนาญสามารถเลือกใช้งานแต่ละเทคโนโลยีการพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุน
หมดความกังวลใจกับ เป็นมาตรฐานและการบริการของเรา (Peace of mind comes as standard)
แบรนด์ผู้นำระดับโลก Macsa (ประเทศสเปน) และ HSAJET (ประเทศเดนมาร์ก) ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เพื่อระบุเลขรหัส วันเดือนปีผลิต วันหมดอายุ ล็อตนัมเบอร์ แบทช์นัมเบอร์ โลโก้ บาร์โค๊ต ดาต้าเมทริกซ์ และเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้การบริการหลังการขาย มีทีมงานทั้งช่างเทคนิคและวิศวกรที่คอยสนับสนุน โดยประสบการณ์อันยาวนานมากกว่า 20 ปีของเรา ผนวกกับมีฐานลูกค้ามากกว่า 2,300 บริษัทฯ ที่ไว้วางใจเรา จึงสามารถสร้างความมั่นใจให้กับท่านได้
Comentários