top of page

บาร์โค้ด (Barcode) พิมพ์ลงบนกล่องลูกฟูก แทนการติดสติ๊กเกอร์


บาร์โค้ด คือ คิวอาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่อ่านได้ด้วยแสง ซึ่งข้อมูลนั้นมักเกี่ยวข้องกับวัตถุที่มันติดอยู่ บาร์โค้ดโดยแรกเริ่มใช้รูปแบบ "บาร์" หรือ "แท่ง" คือเส้นขนานหลาย ๆ เส้นที่มีความหนาและช่องไฟต่างๆ วางเรียงกันอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งรูปแบบนี้อาจเรียกว่า เชิงเส้น หรือ หนึ่งมิติ (1D) ก็ได้ เวลาต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ ใน สองมิติ (2D) ถึงแม้ระบบสองมิตินี้ใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลาย โดยรวมก็ยังคงเรียกว่าบาร์โค้ดอยู่เช่นเดิม บาร์โค้ดดั้งเดิมอ่านด้วยเครื่องกราดภาพด้วยแสงชนิดพิเศษที่เรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ดหรือสแกนเนอร์ แต่ต่อมาเครื่องกราดภาพชนิดอื่นและซอฟต์แวร์แปลความหมายก็มีให้ใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะชนิดอยากที่ที่กราดภาพได้ และสมาร์ตโฟนโดยบาร์โค้ดส่วนใหญ่ที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ที่เราเห็นกันอย่างแพร่หลายก็จะเป็น บาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่จะมีอยู่บนบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าต่าง ๆ มากกว่า บาร์โค้ดสองมิติ การพิมพ์บาร์โค้ด


การพิมพ์บาร์โค้ดลงบนกล่องลูกฟูก แทนการติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เพื่อเป็นการลดต้นทุนในกระบวนการผลิต สินค้าทุกอย่างจะถูกบรรจุลงลังสินค้าก่อนการส่งมอบสินค้าอยู่เสมอ ในกระบวนการผลิตจึงจำเป็นต้องมีรหัสหรือการแจ้งให้ทราบถึงรหัสสินค้า และ เพื่อทำให้ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง ทำให้มีการติดบาร์โค้ดลงบนกล่องบรรจุภัณฑ์ แต่ในการติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดทำให้เสียเวลาและ มีต้นทุนในการผลิต ทางบริษัท PT Asia จึงมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ คือ เครื่อพิมพ์ยี่ห้อ HSAjet ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถพิมพ์ได้ทั้งบาร์โค้ดแท่ง และ คิวอาร์โค้ด ที่มีความละเอียดสูงสุดถึง 2400 dpi ซึ่งความละเอียดของการพิมพ์สามารถปรับได้ตามความต้องการ และใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย การใช้เครื่องพิมพ์แทนการติดสติ๊กเกอร์สามารถประหยัดเวลา และประหยัดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย

#เครื่องพิมพ์ข้างกล่อง #เครื่องพิมพ์เทอร์มอลอิ้งเจ็ต




ผู้เขียนบทความ

พลอยไพลิน ตั้งบรรเจิดสุข




25 views0 comments
bottom of page